วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร

จากการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร จึงมีความคิดว่า
การศึกษากรอบแนวทางในการพัฒนาโดยได้ค้นคว้าและศึกษาเอกสารเพื่อจะนำมาใช้ในการพัฒนางาน ดังนี้
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี
3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
4. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 –2549)
5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัยการจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี
ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 ด้านดังนี้
1) การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี
2) การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4) การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งประสิทธิผล

3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
ด้านการบริหารงานของรัฐบาล (E-GOVERNMENT) ด้านการพานิชยกรรม (E-COMMERCE)ด้านการอุตาสาหกรรม (E-INDUSTRY) ด้านการศึกษา (E-EDUCATION) และด้านสังคม(E-SOCIETY)โดยได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-Education) ดังนี้เป้าหมาย พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้


4. ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร
เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ครบวงจรการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน ด้านการบริหารงานธุรการ และด้านการบริหารงานบริการ เพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการบริการแก่สมาชิกในองค์กร และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ สถานการณ์หรือ เหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น